?อุณหภูมิในห้องผ่าตัดจะเย็นกว่าห้องทำงานทั่วไป ในช่วงพักฟื้นคนไข้ในห้องผ่าตัดหรือ ห้องไอซียูอาจมีอาการหนาวสั่น เป็นภาวะที่เรียกว่า ?อุณหภูมิกายต่ำ? ผมเป็นวิสัญญีแพทย์จะเห็นปัญหานี้ประจำ จึงอยากหาสิ่งที่มาช่วยคนไข้ เศรษฐกิจของบ้านเราก็ไม่ใช่ดีนัก การซื้อของจากต่างประเทศ มีราคาสูงมาก และเราหาของที่ถูกใจไมได้ มีบริษัทเสนอราคาเข้ามาสองแสนกว่าบาท ถ้าคิดถึงความคุ้มที่จะได้ ผมว่าราคามันสูงไป?
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทันตแพทย์สุรพงษ์ วงศ์วัชรานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งหลังจากจบการศึกษาทันตแพทยศาสตร์ ได้ศึกษาต่อ และจบเป็นแพทย์ด้านวิสัญญี ทำงานในห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ด้วย ผู้คิดประดิษฐ์เครื่องอุ่นเลือดและน้ำเกลือใช้เองในห้องผ่าตัดในโรงพยาบาล สงขลานครินทร์ กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการประดิษฐ์
?ตอนที่เรียนแพทย์ก็เห็นเครื่องอุ่นเลือดเหมือนกระเป๋าหิ้ว ที่ควบคุมอุณหภูมิไม่ได้นาน ราคาก็สูงหลายหมื่นบาท ขณะที่เครื่องรุ่นหลังๆ คุณภาพดีขึ้นแต่ราคาสูงมาก มีบริษัทเสนอราคาเข้ามายังโรงพยาบาล ราคาสองแสนกว่าบาท ถ้าคิดถึงความคุ้มที่จะได้ ราคามันสูงไป ผมจึงคุยกับทางช่างวิศวกรรมของคณะทันตแพทยศาสตร์ และไปสอบถามทางคณะแพทยศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ถึงความเป็นไปได้ที่จะทำเอง จึงได้ทดลองทำ ตั้งแต่ปี 2544 โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



เครื่องอุ่นเลือดและน้ำเกลือหรือสารละลายอื่นๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้น มีข้อดีคือสามารถระดับความร้อนได้ตามต้องการ จากแผงควบุคม ส่วนประกอบสำคัญได้แก่ 1.เครื่องควบคุมอุณหภูมิที่ใช้อยู่ในงานอุตสาหกรรมทั่วไป 2. แกนให้ความร้อน ซึ่งจะถ่ายเทความร้อนไปยังสายน้ำเกลือ ที่ถูกนำสายาพันกับแกนภายในตัวเครื่อง 3.หม้อแปลงไฟจากกระแสสลับเข้าสู่ตัวแกนให้ความร้อนที่กระแสไฟตรง

การที่จะรู้ว่าอุณหภูมิของน้ำเกลือเท่าไรนั้น ต้องใส่ตัววัดเข้าไปในน้ำเกลือ ซึ่งถ้าเข้าไปอยู่ในร่างกายแล้ว เราใช้ตัววัดไม่ได้ แต่จะอาศัยดูทางอ้อมจากค่าอุณหภูมิกายของคนไข้และวิธีสัมผัสสายน้ำเกลือ แต่เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นในปี 2548 เราจัดเก็บค่าตัวเลขของอุณหภูมิของเลือดและน้ำเกลือที่แปรผันไปตามอุณหภูมิ ห้องและจากการปรับระดับความร้อนในภาวะอุณหภูมิต่างๆเพื่อหาค่าอุณหภูมิที่ เหมาะสมสำหรับผู้ใช้เลือกได้
วิธีการใช้งานไม่ยุ่งยาก เพียงนำสายน้ำเกลือไปพันแกนและเสียบปลั๊กไฟปกติ หากต้องการให้น้ำเกลือหรือเลือดไหลเร็ว ในกรณีเสียเลือดเยอะ ก็ตั้งค่าอุณหภูมิให้สูงขึ้นหรือหากจะให้ไหลช้าลงก็ปรับให้อุณหภูมิต่ำลง ซึ่งมีข้อแม้ว่าสารน้ำที่เข้าสู่ร่างกายนั้นไม่ควรเกิน 42 องศาเซลเซียส เพราะไม่เช่นนั้นเม็ดเลือดในร่างกายอาจจะสุกได้ นำไปใช้ในห้องผ่าตัดทั่วไป หรือห้องไอซียู
เครื่องอุ่นเลือดมีน้ำหนักกว่า 2 กิโลกรัม ใช้ต้นทุนประดิษฐ์ประมาณ 13,000 บาท พัฒนาต่อยอดจากเครื่องที่ได้ประดิษฐ์เมื่อปี 2544 โดยรุ่นล่าสุด ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้งานและปรับเปลี่ยนตัววัดอุณหภูมิ ตัวให้ความร้อนต่างๆเพื่อให้ปลอดภัยมากขึ้น และสามารถปรับค่าอุณหภูมิจากหน้าจอได้ด้วยตัวเอง
แนะนำข้อมูลดีๆจากเว็บไซด์ http://www.psu.ac.th/
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวณิชย์ อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทร.0 7428 2000 โทรสาร 0 7421 2828
Tags : เครื่องอุ่นเลือด,ห้องผ่าตัด,เครื่องอุ่นน้ำเกลือ,เครื่องอุ่นเลือดในท่อน้ำเกลือ สายน้ำเกลือ,เครื่องอุ่นสารละลายในสายน้ำเกลือ,เครื่องอุ่นเลือดในห้องผ่าตัด,เครื่องอุ่นเลือดและสารละลาย